เมื่อ พ.ศ. 2466
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2
ชนิดคือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11
ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันท์ลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
มงคลสูตรคำฉันท์
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล 38
อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ
คำว่า ''มงคล'' หมายถึง
เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ ‘‘สูตร’’
หมายถึง
คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า
พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
คำว่า
''มงคล'' ในทางพระพุทธศาสนา
ได้แก่เหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขและมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน ''มงคลสูตร'' เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือและปฏิบัติ มีทั้งสิ้น
38 ประการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น