วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ความรู้เพิ่มเติม
การอ่านคำภาษาบาลี
คำในภาษาบาลี
เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบการอ่าน ดังนี้
๑.
ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้
ให้อ่านอักษรนั้นมีเสียง "อะ" ทุกตัว
๒.
เมื่อตัวอักษรใดมีเครื่องหมาย ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้แสดงว่าอักษรนั้นเป็นตัวสะกดของอักษรที่อยู่ข้างหน้า
ผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น
๓. เมื่ออักษรใดมีเครื่องหมาย
ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนตัวอักษร
ให้อ่านให้เหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว "ง"
วิเคราะห์วิจารณ์
คุณค่าด้านเนื้อหา
มงคลสูตรคำฉันท์
เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ว่าด้วยเรื่องของ มลคล ๓๘
ประการ
ซึ่งเป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ โดยเน้นว่า “การปฏิบัติด้วยตนเอง” เป็นลำดับจากง่ายไปยาก และถ้าหากปฏิบัติได้แล้ว
จะทำให้ชีวิตมีแต่ความก้าวหน้าและผาสุก
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
เนื้อ
ความในมงคลสูตรคำฉันท์แม้จะมีที่มาจากคาถาบาลีและมีคำศัพท์ในทางพระพุทธ
ศาสนาอยู่เป็นอันมาก แต่ก็เป็นคำที่เข้าใจความหมายได้ไม่ยาก เช่น โสตถิ
ภควันต์ อภิปูชนีย์ชน เป็นต้น
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสามารถถ่ายทอดและเรียบเรียงเนื้อความเป็นภาษาไทยได้อย่างเรียบง่าย แต่มีความไพเราะสละสลวย และสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
คุณค่าด้านสังคม
มงคลสูตรคำฉันท์เป็นวรรณคดีที่มีมาจาก“มงคลสูตร”ซึ่งเป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนเมื่อได้นำไปปฏิบัติแล้วย่อมจะทำให้ชีวิตประสบกับ
“มงคล” หรือความสุขอย่างแท้จริง เนื่องจากแนวทางต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่ในมงคลสูตรทั้ง ๓๘ ประการ
เน้นไปที่การนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมด้วยตนเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้หากทุกคนได้ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม
ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย
ลักษณะในการแต่ง
ใช้คำประพันธ์ ๒
ประเภท คือ
กาพย์ฉบัง ๑๖และ อินทรวิเชียรฉันท์
๑๑
โดยทรงลงท้ายคำประพันธ์ทุกบทด้วยข้อความเดียวกันว่า
“ ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี ” ซึ่งมีที่มาจากคาถาภาษาบาลีที่ว่า
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
ข้อคิดที่ได้รับ
1. ได้รู้ถึงวิธีการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตในด้านต่างๆ 2. ได้ศึกษาภาษากวีนิพนธ์ที่สละสลวย ไพเราะทั้งถ้อยคำและเนื้อความ
3. ทำให้เราเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น
เนื้อเรื่องย่อ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย หมวดขุททกปาฐะ
พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม คือ พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์ ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
๑) มงคล ๓๘ ประการ เป็นคำสอนที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นจริงได้
โดยเน้นที่ “ การปฏิบัติด้วยตนเอง ” เป็นลำดับจากง่ายไปยาก
และถ้าหากปฏิบัติได้แล้ว จะทำให้ชีวิตมีแต่ความก้าวหน้าและผาสุก
โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยใดๆ ภายนอก เนื่องจากการปฏิบัติด้วยตนเองย่อมมอบความเป็นมงคลที่แท้จริงให้แก่ชีวิต
๒) มงคลสูตร
เป็นคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ทุกคนโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน เมื่อได้นำไปปฏิบัติแล้ว
ย่อมจะทำให้ชีวิตประสบกับ “ มงคล ” หรือความสุขอย่างแท้จริง เนื่องจากแนวทางต่างๆ
ที่ปรากฏอยู่ในมงคลสูตรทั้ง ๓๘ ประการ
เน้นไปที่การนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมด้วยตนเองเป็นสำคัญ
ประวัติผู้แต่งมงคลสูตรคำฉันท์
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ
วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423
เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9
พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ
พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ
พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา
46 พรรษา
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท
เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องยังได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี
อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธาเป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า
"สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ซึ่งหมายถึงนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และใน พ.ศ.
2515
พระองค์ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็น 1ใน5
นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของไทย
ที่มาของมงคลสูตรคำฉันท์
เมื่อ พ.ศ. 2466
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2
ชนิดคือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11
ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันท์ลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี
การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง
มงคลสูตรคำฉันท์
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยมงคล 38
อันเป็นพระสูตรหนึ่งในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายหมวดขุททกปาฐะ
คำว่า ''มงคล'' หมายถึง
เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือทางก้าวหน้า และ ‘‘สูตร’’
หมายถึง
คำสอนในพระพุทธศาสนา มงคลสูตร จึงหมายความว่า
พระธรรมหรือคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จะนำมาซึ่งความสุขและความเจริญก้าวหน้า
คำว่า
''มงคล'' ในทางพระพุทธศาสนา
ได้แก่เหตุที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขและมีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน ''มงคลสูตร'' เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ยึดถือและปฏิบัติ มีทั้งสิ้น
38 ประการ
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)